หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม
(Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้
(Cognitive)
ทฤษฎี จากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov,
Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง
ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้
ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์
(Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ
ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect) 2. กฎแห่งการฝึกหัด
(Law of Exercise) 3. กฎแห่งความพร้อม (Law of
Readiness)
ทฤษฎี การวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง
(S-R
Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้แนว คิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม
(Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
คา ร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ
คือ หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการ
เรียนการ สอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ
ความต้องการ ความปรารถนา
และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา การพัฒนามโนทัศน์
(Concept) ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ
คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้นการเลือก
การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติ เกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วย
ตนเองมากที่สุด การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้
ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้ เรียน ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล การถ่ายโยงที่ดีโดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่
ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการ
ปฏิบัติ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์
จริง การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น
ส่วนบูเกสสกี (Bugelski) ได้สนับสนุนว่า
การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ ได้สะดวกซึ่งหมายถึงว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดย ตรงแก่ผู้เรียน
หลัก การและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษายังต้องอาศัยวิธี
การที่สำคัญ คือ วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการพัฒนาในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน
วิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ
ทั้งเพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชา
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม
กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป
ในลักษณะที่พึงประสงค์ ธรรมชาติของการเรียนรู้
คือ ความต้องการของผู้เรียน
(Want) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) การตอบสนอง (Response) การได้รับรางวัล (Reward)
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น
จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน
คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ
(3) ความนึกคิด
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาหลายท่าน ดังนี้
วิจิตร ศรีสอ้าน (2524: 109) กล่าว ว่า
ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมาย
ระบบความเชื่อหรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์หรืออุดมคติทำนอง
เดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง อุดมการณ์ของชีวิต
อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป ปรัชญาการศึกษาคือ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ทองปลิว ชมชื่น (2529:120)
ปรัชญา การศึกษา คือ
เทคนิคการคิดที่จะแสวงหาคำตอบและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการศึกษาไม่
ว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน
เริ่มตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาและการบริหารทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างแท้จริง
กองส่งเสริมวิทยะฐานะครู
กรมการฝึกหัดครู (2530 : 20) ให้ความหมายว่า
ปรัชญาการศึกษาเป็นแนวคิด อุดมคติ หรืออุดมการณ์ทางการศึกษา
ซึ่งได้กลั่นกรองมาแล้วและจะเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
ภิญโญ สาธร (2521:
81) ให้
ความหมายของปรัชญาการศึกษาว่าเป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้อันเกี่ยวกับการ
ศึกษาความรู้อันเกี่ยวกับการศึกษานั้น หมายถึง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเนื้อหาวิชาที่ให้ศึกษาและวิธีการให้ศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา การ
ศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง
พึ่งพาตนเองได้
จิตวิทยาการเรียนรู้
- ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม
หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
- กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
- กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้
(Constructivists)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์
(Behaviorists)
สกินเนอร์ (B.
F. Skinner) เป็นผู้นำ
ซึ่งได้ทำการศึกษาทดลองกับสัตว์ในเรื่องของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(Stimulus-Response : S-R Theory) โดยถือว่า
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น