หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม
(Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้
(Cognitive)
ทฤษฎี จากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov,
Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง
ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้
ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์
(Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ
ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect) 2. กฎแห่งการฝึกหัด
(Law of Exercise) 3. กฎแห่งความพร้อม (Law of
Readiness)
ทฤษฎี การวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง
(S-R
Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้แนว คิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม
(Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
คา ร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ
คือ หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการ
เรียนการ สอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ
ความต้องการ ความปรารถนา
และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา การพัฒนามโนทัศน์
(Concept) ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ
คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้นการเลือก
การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติ เกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วย
ตนเองมากที่สุด การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้
ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้ เรียน ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล การถ่ายโยงที่ดีโดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่
ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการ
ปฏิบัติ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์
จริง การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น
ส่วนบูเกสสกี (Bugelski) ได้สนับสนุนว่า
การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ ได้สะดวกซึ่งหมายถึงว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดย ตรงแก่ผู้เรียน
หลัก การและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษายังต้องอาศัยวิธี
การที่สำคัญ คือ วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการพัฒนาในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน
วิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ
ทั้งเพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชา
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม
กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป
ในลักษณะที่พึงประสงค์ ธรรมชาติของการเรียนรู้
คือ ความต้องการของผู้เรียน
(Want) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) การตอบสนอง (Response) การได้รับรางวัล (Reward)
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น
จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน
คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ
(3) ความนึกคิด
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาหลายท่าน ดังนี้
วิจิตร ศรีสอ้าน (2524: 109) กล่าว ว่า
ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมาย
ระบบความเชื่อหรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์หรืออุดมคติทำนอง
เดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง อุดมการณ์ของชีวิต
อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป ปรัชญาการศึกษาคือ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ทองปลิว ชมชื่น (2529:120)
ปรัชญา การศึกษา คือ
เทคนิคการคิดที่จะแสวงหาคำตอบและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการศึกษาไม่
ว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน
เริ่มตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาและการบริหารทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างแท้จริง
กองส่งเสริมวิทยะฐานะครู
กรมการฝึกหัดครู (2530 : 20) ให้ความหมายว่า
ปรัชญาการศึกษาเป็นแนวคิด อุดมคติ หรืออุดมการณ์ทางการศึกษา
ซึ่งได้กลั่นกรองมาแล้วและจะเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
ภิญโญ สาธร (2521:
81) ให้
ความหมายของปรัชญาการศึกษาว่าเป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้อันเกี่ยวกับการ
ศึกษาความรู้อันเกี่ยวกับการศึกษานั้น หมายถึง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเนื้อหาวิชาที่ให้ศึกษาและวิธีการให้ศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา การ
ศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง
พึ่งพาตนเองได้
จิตวิทยาการเรียนรู้
- ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม
หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
- กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
- กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้
(Constructivists)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์
(Behaviorists)
สกินเนอร์ (B.
F. Skinner) เป็นผู้นำ
ซึ่งได้ทำการศึกษาทดลองกับสัตว์ในเรื่องของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(Stimulus-Response : S-R Theory) โดยถือว่า
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
ทฤษฎีนี้จึงมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
และถือว่าพื้นฐานของการเรียนรู้ จะมี 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อนสามารถจำแนกออกมาเรียนรู้เป็นส่วนย่อยได้
2. ผู้เรียนเรียนรู้จากการรับรู้และประสบการณ์
3. ความรู้คือ การสะสมข้อเท็จจริง
และทักษะต่างๆ
การ เรียนรู้ตามแนวคิดนี้จึงถือว่า การเรียนรู้เป็นการรู้สาระเนื้อหา
ข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎี การเรียนการสอน
จึงเน้นเรื่องการใช้ตำราเรียนและมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหา
และข้อเท็จจริงที่ไม่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ
4 ประการ คือ
1. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียน
2. ผลป้อนกลับ (Feedback) ต้องเกิดขึ้นทันที เช่น ครูต้องบอกว่าตอบถูกหรือผิด
3. แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้ต้องสั้นไม่ต่อเนื่องยืดยาว
4. การเรียนรู้
(การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) ต้องมีการให้รางวัล และเสริมแรง
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดปัญญานิยม
(Cognitivists)
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล
ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อยๆ
ทฤษฎี นี้จึงถือว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ
มีการแปลความ ตีความ การให้เหตุผลจนเกิดรู้สำนึก และสะสมเป็นความรู้ในที่สุด
หลักการตามแนวคิดนี้คือที่มาของการเรียนการสอนแบบสืบหาความรู้
(Enquiry) ที่ถือว่าผู้เรียนไม่มีความรู้มาก่อน
ผู้เรียนจะเกิดความรู้ได้ต้องดำเนินการสืบหา (Enquire) จนได้ความรู้นั้นจุดเน้นของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของกลุ่มปัญญานิยมนี้
จึงต้องการ “ให้รู้ว่าจะได้รู้อย่างไร” มากกว่าการสอน “ให้รู้อะไร”
ในด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จะให้ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และมีบทบาทโดยตรงในการเรียนรู้ (Active Learning) โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอนดังนี้
1. เกิดข้อสงสัย คำถาม
หรือเกิดปัญหาที่อยากรู้คำตอบ
2. ออกแบบวางแผนที่จะสำรวจตรวจสอบ
3. ดำเนินการเก็บข้อมูล ทดลอง สำรวจ
หาหลักฐานประจักษ์พยาน
4. วิเคราะห์ข้อมูล
สร้างคำอธิบายที่สอดคล้องกับข้อมูลหรือหลักฐาน
5. สรุปเป็นความรู้
ขยายและเผยแพร่ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้
แม้
กระบวนการวิทยาศาสตร์ดังกล่าวจะได้รับการยอบรับมาก แต่ในทางปฏิบัติ
กระบวนการบางส่วนยังขาดหายไป เป็นต้นว่า
ขั้นตอนแรกส่วนใหญ่ผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้ตั้งปัญหาเอง
ส่วนมากจะมีปัญหาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย และในขั้นตอนที่ 4 และ
5 ส่วนมากครูผู้สอนหรือหนังสือเรียนจะอธิบายและสรุปไว้ให้
ผู้เรียนจึงมีโอกาสน้อยที่จะได้ฝึกปฏิบัติส่วนนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสม์
(Constructivists)
Constructivism เป็น ปรัชญาการศึกษา
โดยตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งความรู้นี้จะฝังติดอยู่กับคนสร้าง
ดังนั้นความรู้ของแต่ละคนเป็นความรู้เฉพาะตัว
Constructivism เชื่อ
ว่าความจริงอยู่ในหัวสมองของคนมากกว่าที่จะมีที่อยู่ที่อื่น
คนสร้างสิ่งที่เรียกว่าความจริงหรืออย่างน้อยก็สร้างความหมายของความจริง
ขึ้นมาบนพื้นฐานจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคน
ทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้นี้
จะมีหลักการสำคัญอยู่ 3ประการ คือ
1. การเรียนการสอนควรเริ่มจากต้นที่ผู้เรียน
ว่าผู้เรียนรู้หรือสร้างความรู้อะไรมาแล้ว
2. ความรู้เดิมของผู้เรียนมักเป็นความรู้ที่ไม่ถูกต้อง
ครูต้องเปลี่ยนด้วยการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่ถูกต้อง
3. ผู้
เรียนเป็นผู้สร้างความหมายของความรู้ด้วยตนเอง
ไม่มีใครสามารถสร้างความหมายของความรู้หรือประสบการณ์ให้ใครได้
การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้รับข้อมูล และข้อเท็จจริง
แล้วนำมาสร้างความหมายของตนเอง
ทฤษฎีการสื่อสารและการสื่อความหมาย
การสื่อสาร (communication
)คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ผู้ ส่งสารคือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้า
เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย
ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง
ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้
การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าว สารในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ
ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ
เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อ หรือช่องทางในการรับสารคือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น
และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก
สื่ออิเลกทรอนิกส์
ผู้ รับสารคือผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร
การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้
มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
ลักษณะของการสื่อสารแบ่งออกได้ 3
วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา
หรือ "วจนภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด
การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น
4
ประเภท ดังนี้
1. การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็น การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
4. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็น การสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสาร เดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เรี่ยกัน
1. การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็น การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
4. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็น การสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสาร เดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เรี่ยกัน
กระบวนการสื่อสาร (Communication
Process)
ความหมาย
ถึงการส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง
และการใช้กิริยาท่าทาง
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร
หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็น
แหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ
เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้
ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message)
ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด
ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media
or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์
เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver
or Target Audience) ได้แก่
ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน
หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมาย ถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ
ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ
พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย
หรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้
และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกิริยาสนองกลับ (Feedback)
เป็น สิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดง
อาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ
หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า
ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกิริยาสนอง
กลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้
ส่งนั่นเอง
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ
ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหา ความรู้
ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้ รับสารในการเรียนการสอน
ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา
และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน
หมายถึง
ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกิริยา สนองกลับของผู้เรียน
หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน
หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน
วิธีระบบ ( System
Approach)
ระบบ คือ
ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความ
สัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น เป็น กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ
คือ
วิธี การระบบที่ดี
จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพ
แวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า ข้อมูล
วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ
ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้
ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น
ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่
โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
การวิเคราะห์ระบบ ( System
Analysis )
การ
กระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
ขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ
การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ
( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System
Analysis ) ประกอบด้วย
8
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1
ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา
ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหาที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2
ขั้น กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น
ๆว่าจะให้ได้ผลในทางใดมีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้
ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3
ขั้น สร้างเครื่องมืดวัดผล
การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อน
การทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4
ค้น หาและเลือกวิธีการต่างๆ
ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวางและเป็นธรรม หลาย
ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5
เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6
ขั้น การทดลอง
เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้นการทดลองนี้ควรกระทำ
กับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน
เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7
ขั้นการวัดผลและประเมินผล
เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า
ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใดยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง
จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8
ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน
จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7 ก็ จะทำให้เราทราบว่า
การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
จะได้นำมาแก้ไข
ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติหรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
ระบบการเรียนการสอน
ระบบ
การเรียนการสอน ก็คือ
การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อสะดวกต่อการนำ
ไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้
วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การประเมินความจำเป็น
2. การเลือกทางแก้ปัญหา
3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน ,
การลำดับขั้นตอนของการสอน
6. การเลือกสื่อ
7. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
8. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
9. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
10. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. ทฤษฎีการรับรู้ การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory
motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง
5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน
13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3% การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้
ลักษณะของสิ่งเร้า เมื่อ
มีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น ก่อน
เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้
ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด
ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
ดังคำกล่าวของ ฉลองชัย
สุรวัฒนบูรณ์
(2528)
และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (ม.ป.ป. : 125) ที่กล่าวว่า การ
ที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้
โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส
และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดัง
นั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับ
รู้ นอกจากนี้ กระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย ซึ่ง Fleming
(1984: 3) ให้ข้อเสนอแนะว่ามีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้องรู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1. โดยทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์
หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2. ใน การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด
เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด
เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
3. เมื่อ
มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ
มุ่งหมาย
กฤษณา
ศักดิ์ศรี (2530: 487) กล่าว ถึง
บทบาทของการรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้ว่า บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี
และมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการรับรู้สิ่งเร้าของบุคคล
นอกจากจะขึ้นอยู่กับตัวสิ่งเร้าและประสาทสัมผัสของผู้รับรู้แล้ว
ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้รู้และพื้นฐานความรู้เดิมที่มีต่อสิ่ง
ที่เรียนด้วย จิตวิทยาการเรียนรู้ เมื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้
ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพแล้ว ผู้บรรยายจึงต้องเป็นผู้กระตุ้น
หรือเสนอสิ่งต่าง ๆ ให้ผู้เรียน เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในตัว
ผู้เรียนซึ่ง จำเนียร ช่วงโชติ (2519) ให้ความหมายไว้ว่า
"…การ เรียนรู้ หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากประสบการณ์ที่มีขอบเขตกว้าง
และสลับซับซ้อนมากโดยเฉพาะในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม…"
วรกวิน (2523: 56-60) การ เรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ในลักษณะที่พึงประสงค์ การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ จะต้องมีระบบระเบียบ วิธีการ และอาศัยความรู้ต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กระบวนการสื่อความและสื่อความหมายและสื่อความหมาย การพิจารณาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยน ไป การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การกำหนดทฤษฎี การเรียนรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มพฤติกรรมร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียนรวมทั้งวิธีการจัด ระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตาม วัตถุประสงค์
วรกวิน (2523: 56-60) การ เรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ในลักษณะที่พึงประสงค์ การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ จะต้องมีระบบระเบียบ วิธีการ และอาศัยความรู้ต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กระบวนการสื่อความและสื่อความหมายและสื่อความหมาย การพิจารณาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยน ไป การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การกำหนดทฤษฎี การเรียนรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มพฤติกรรมร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียนรวมทั้งวิธีการจัด ระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตาม วัตถุประสงค์
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต
มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No
one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน
การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี การเรียนรู้ของคนเรา
จากไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา
ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้ "…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์
(organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation)
ด้วยประสาททั้ง 5 แล้ว
ส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน
หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว
ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception)
แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่าง
หนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม
แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่ง
เร้าได้แล้ว…" การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต
มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No
one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน
การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
นวัตกรรม"
คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อ เศรษฐกิจและสังคม"นวัตกรรม"
จึงถือเป็นกุญแจหลักที่จะผลักดันให้หน่วยเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ความสามารถของประเทศในการสร้าง "แรงขับเคลื่อนนวัตกรรม" จึงเป็นปัจจัยชี้ขาดอัตราการเจริญเติบโตและการปรับฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ความหมายของนวัตกรรม “ นวัตกรรม ” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย
และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย นวัตกรรม แบ่งออกเป็น
3 ระยะคือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น(Innovation)หรือเป็นการปรุงแต่ง ของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development)มีการทดลองในแหล่งทดลอง จัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot
Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ ผู้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน
และมีความคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างแนวคิด นวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในด้านใด
ประเทศใดมีผู้คิดผู้สร้างนวัตกรรมมาก ประเทศนั้นก็ร่ำรวย สมมติ คอนแทคเลนส์ ราคา 200บาท โดยค่าวัตถุดิบอาจจะประมาณ 75 สตางค์
ส่วนที่เหลือ 199.25 บาท เป็นค่าคิด คนในประเทศที่มีนักคิดจำนวนมาก
มักจะมีระบบการเรียนการสอนที่เน้นให้ ผู้เรียนคิด และประเทศเหล่านี้ส่วนมาก ก็ประสบความสำเร็จจากผลงานสิ่งประดิษฐ์
จากนักคิดในทุกวงการ อย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ มีประชากรน้อยกว่าไทย12 เท่า แต่มีการจดสิทธิบัตรในแต่ละปี มากกว่าไทย หลายสิบเท่า จึงไม่น่าแปลกใจที่รายได้ประชากรต่อคนของสิงคโปร์สูงกว่าเราประมาณ
10 เท่า ประเทศอเมริการ่ำรวยมาได้ก็เพราะมีนักคิด ตัวอย่าง เช่น บิลล์
เกต [Window] สตีฟ จ็อบส์ (apple ipod pixar studio) และยังมีอีกมากมายที่น่าแปลกคือ นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ที่กล่าวมาทุกคน ไม่มีใครเรียนจบปริญญาตรีเลย
ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกฝนได้
เทคโนโลยี คืออะไร
ความหมายของเทคโนโลยี คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
*** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ความหมายของเทคโนโลยี คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
*** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง
ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่
และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม
เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี
นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531
: 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง
โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้
เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์
(2534
: 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม
หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของ
เทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น
ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย
ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช.
2530 : 67)
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับ
นวัตกรรม คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
Innotech
ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่อง
จากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอ
ความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง
ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้
ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่
ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศทางการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการศึกษา
การออกแบบและการสร้างบทเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ผ่านระบบเครื่อข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ
ฝึกปฏิบัติการออกแบบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น